เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ‘ชะอม’

กินอะไรกับน้ำพริกกะปิก็ไม่อร่อยเท่าไข่เจียวชะอม แถมไข่เจียวชะอมยังเอาไปใส่ในแกงส้มได้อร่อยที่สุด หากชอบน้ำพริก จะลวกจิ้มน้ำพริกเปล่าๆ ก็ยังอร่อย แม้ว่ารสชาติจะติดขมเล็กน้อย แต่ชะอมก็มีรสชาติที่มีเสน่ห์ และมีเอกลักษณ์ แถมยังมีประโยชน์ดีๆ ที่อยากให้ได้คนไทยกินชะอมกันอีกเยอะๆ

ประโยชน์ของ ชะอม

  1. ชะอมมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา
  2. มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง
  3. ชะอมมีกากใยอาหารสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่าย
  4. ยอดชะอม ช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ จึงเหมาะกับอุณหภูมิร้อนๆ ในบ้านเรา
  5. รากชะอม สามารถนำมาฝนกิน ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยขับลมในท้องได้

ข้อควรระวัง-อันตรายของ ชะอม

  1. หญิงที่กำลังให้นมบุตร ไม่ควรกินชะอม เพราะอาจทำให้นมแห้งได้
  2. ในหน้าฝน อาจทำให้ชะอมมีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นฉุนกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้
  3. ชะอมมีกรดยูริกสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์ยังสามารถรับประทานได้ แต่ควรจำกัดปริมาณในการรับประทานไม่ให้มากเกินไป แต่หากมีอาการของโรคเกาต์ค่อนข้างหนัก และปวดเข่ามาก ควรหลีกเลี่ยง
  4. ชะอมเป็นพืชที่พบการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคท้องเสีย ท้องร่วงอย่าง ซาลโมเนลลา ได้ ดังนั้นจึงควรล้างผักให้สะอาด และปรุงโดยต้ม ลวก หรือผ่านความร้อนให้สุกอย่างทั่วถึงก่อนรับประทาน

รู้จักให้ไวยาต้านไวรัสเอดส์

ยาต้านไวรัสเอดส์
หรือบางคนเรียกสั้นๆ ว่า “ยาต้าน” ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า “เออาร์วี” (ARV) ย่อมาจาก antiretroviral ในปัจจุบันมียาต้านไวรัสเอดส์จำนวนมาก ออกฤทธิ์ยับยั้งการแพร่พันธุ์ทำให้เชื้อไวรัสเอดส์ลดน้อยลงได้ และช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell ยาต้านไวรัสเอดส์ส่วนใหญ่ใช้ได้ผลดี แต่ก็ยังอาจพบปัญหาของการใช้ยาบางประการ ได้แก่ ปัญหาจากผลข้างเคียงของยา ปัญหาการดื้อยาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว รวมถึงปัญหาคุณภาพชีวิตที่ต้องกินยาให้ถูกต้องสม่ำเสมอเป็นระยะเวลายาวนานตลอดชีวิต บางคนอาจมีปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายราคายาอีกด้วย

หลักการพิจารณา

สำหรับข้อพิจารณาการให้ยาต้านไวรัส โดยทั่วไปจะพิจารณาโดยอาศัยหลักบางประการดังต่อไปนี้

  • ประวัติสุขภาพในอดีตและปัจจุบัน
  • ผลการตรวจเลือดวัดระดับภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า CD4
  • ผลการตรวจเลือดวัดระดับปริมาณไวรัสในร่างกายที่เรียกว่า viral load
  • ผู้ป่วยอยู่ในระยะใด มีอาการจากเชื้อ HIV หรือภูมิคุ้มกันบกพร่องใกล้ถึงเวลาจะติดเชื้อฉวยโอกาสแล้วหรือไม่
  • ผู้ป่วยมีความสามารถซื้อยาต้านเอดส์ 3 ชนิด พร้อมทั้งสามารถเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามผลทางห้องปฏิบัติการคือ CD4 และ HIV viral load หรือไม่
  • ต้องมารับการรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ

สูตรยาครั้งแรก

สูตรยาที่ให้ครั้งแรกสำคัญที่สุด ถ้าสูตรที่เลือกไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสที่สูตรยาที่ให้หลังๆ จะได้ผลยิ่งน้อยลง ต้องพิจารณาถึงผลข้างเคียงของยาทั้งระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้งปฏิกิริยาของยาต้านเอดส์ กับยาอย่างอื่นๆ ให้การป้องกัน และรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาส และดูแลโรคที่เกิดขึ้นในระบบต่างๆ ของร่างกาย หลังจากที่ได้ยาต้านเอดส์ต้องมีการติดตามทางห้องปฏิบัติการว่าเชื้อตอบสนองต่อยา CD4 เพิ่มจำนวนขึ้น และ viral load ลดลงจนวัดไม่ได้ในเลือด ถ้าเชื้อไม่ตอบสนองต่อยาเท่าที่ควร หลังจากใช้ยาไประยะหนึ่ง เช่น มากกว่า 6 เดือน อาจต้องพิจารณาปรับสูตรยาใหม่

เป้าหมายของการรักษาผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย

  • ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชีวิตยืนยาวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อเอดส์
  • เป้าหมายสูงสุดสำหรับผู้ที่สามารถใช้ยาต้านเอดส์ได้คือ ให้มีปริมาณไวรัส HIV น้อยที่สุด จนตรวจไม่พบ (Undetectable viral load) และ CD4 สูงที่สุดนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ป้องกันเชื้อ HIV ไม่ให้เกิดการดื้อยา
  • สำรองยาหรือสูตรยาอันจะเป็นทางเลือกในอนาคตหากเกิดกรณีเชื้อดื้อยา

การแบ่งกลุ่มผู้ติดเชื้อ

กลุ่มที่ 1 ผู้ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการของโรคแทรกซ้อน
กลุ่มที่ 2 ผู้ติดเชื้อที่มีอาการของโรคแทรกซ้อนแล้ว
ผู้ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการของโรคแทรกซ้อน

ผู้ป่วยที่มี CD4 น้อยกว่า 200 เซล/ลบ.มม. ควรเริ่มใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ทันที
ผู้ป่วยที่มี CD4 มากกว่า 350 เซล/ลบ.มม. แต่มีไวรัสมากกว่า 55,000 copy/มิลลิลิตร จากวิธีตรวจแบบ RT–PCR assay ควรเริ่มใช้ยาต้านไวรัส

ผู้ติดเชื้อที่มีอาการของโรคแทรกซ้อนแล้ว

กรณีที่ป่วยเป็นวัณโรค เชื้อราในเยื่อหุ้มสมอง ปอดอักเสบ อุจจาระร่วงเรื้อรัง ควรเริ่มใช้ยาต้านไวรัส แต่การเริ่มใช้ยาต้านไวรัสควรเริ่มในจังหวะที่เหมาะสม โดยต้องพิจารณาด้วยว่ามียาต้านไวรัสตัวใดบ้างที่ออกฤทธิ์ต่อต้านกับยารักษาโรคติดเชื้อแทรกซ้อนที่กำลังใช้อยู่ เช่น ถ้าป่วยเป็นวัณโรคและใช้ยา rifampicin รักษาอยู่ จะห้ามใช้ยาต้านไวรัสกลุ่ม PIs หรือผู้ป่วยที่มีอาการอจุจาระร่วงเรื้อรังรุนแรงอยู่ อาจมีปัญหาการดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกาย จึงยังไม่ควรเริ่มใช้ยาต้านไวรัส รวมถึงควรดูปัญหาผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสที่จะใช้ และสุขภาพของผู้ป่วยมีความพร้อมที่ทนต่อผลข้างเคียงของยา รวมถึงการให้ความร่วมมือในการกินยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอเมื่อเริ่มใช้ยา

การจัดจำแนกชนิดของยาต้านไวรัสเอดส์

Nucleoside/Nucleotide Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs)
Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs)
Protease Inhibitors (PIs)
Entry Inhibitors
Integrase Inhibitors
Multi-Class Combinations

ยายับยั้งเอนไซม์ RT ชนิดนิวคลีโอไซด์ Nucleoside/Nucleotide Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs)

Combivir (AZT/3TC)
Emtriva (Emtricitabine, FTC)
Epivir (3TC, Lamivudine)
Epzicom (Abacavir/3TC, Kivexa)
Hivid (Zalcitabine, ddC)
Retrovir (Zidovudine, AZT)
Trizivir (AZT/3TC/Abacavir)
Truvada (Tenofovir/FTC)
Videx (Didanosine, ddI)
Viread (Tenofovir)
Zerit (Stavudine, d4T)
Ziagen (Abacavir)

ยายับยั้งเอนไซม์ RT ชนิดไม่ใช่นิวคลีโอไซด์ Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs)

Intelence (Etravirine, TMC125)
Rescriptor (Delavirdine)
Sustiva (Efavirenz, Stocrin)
Viramune (Nevirapine)

ยายับยั้งเอนไซม์ Protease Protease Inhibitors (PIs)

Aptivus (Tipranavir)
Crixivan (Indinavir)
Invirase (Saquinavir)
Kaletra (Lopinavir/Ritonavir)
Lexiva (Fosamprenavir, Telzir)
Norvir (Ritonavir)
Prezista (Darunavir, TMC114)
Reyataz (Atazanavir)
Viracept (Nelfinavir)

ยายับยั้งไวรัสเข้าเซลล์ Entry Inhibitors

Fuzeon (Enfuvirtide, T-20)
Selzentry (Maraviroc, Celsentri)
ยายับยั้งเอนไซม์ Integrase Integrase Inhibitors

Isentress (Raltegravir, MK-0518)
ยาสูตรผสม Multi-Class Combinations

Atripla (Efavirenz/Tenofovir/FTC)
สูตรการให้ยาแบบจับคู่ยา

การให้ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอดส์ในปัจจุบัน นิยมใช้สูตรยา HAART (highly active antiretroviral therapy) ได้แก่

AZT+ ddI + Stocrin
AZT+ 3TC + Crixivan + Ritonavir
d4T+ 3TC + Viracept
d4T+ ddI + Saquinavir + Ritonavir
3TC + ddI + Kaletra
AZT + ddC + Viramune
การเปลี่ยนสูตรยา

กรณีผลการรักษาล้มเหลว แพทย์จะพิจารณาเปลี่ยนสูตรยาใหม่ โดยอาศัยข้อมูลต่อไปนี้

  • ปริมาณไวรัสเพิ่มขึ้น 0.5 log ของ baseline
  • CD4 cell ลดต่ำลงกว่า baseline 30%
  • ปรากฏโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นภายหลังการรักษา 3 เดือน ให้พิจารณาเปลี่ยนยาใหม่ที่ไม่เคยใช้มาก่อนอีก 2 ชนิด

ข้อควรระวังในการใช้ยา

ปัญหาการใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น การใช้ยาที่ไม่สามารถลดปริมาณไวรัสได้ดีพอ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เชื้อไวรัสดื้อยา และเชื้อไวรัสที่ดื้อยาเหล่านี้จะทำให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ในเวลาต่อมาล้มเหลว และจะล้มเหลวมากขึ้นเรื่อยๆ ในการรักษาครั้งต่อๆ มา ด้วยเหตุผลนี้แพทย์ผู้ดูแลรักษาทุกคน และผู้ป่วยควรเข้าใจ และตระหนักถึงปัญหานี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด ปัญหาเชื้อไวรัสเอดส์ดื้อยามีความสำคัญมาก เนื่องจากเมื่อไวรัสดื้อยาขึ้นมาแล้ว การรักษาต่อมาจะประสบความสำเร็จได้ยากมาก และที่น่าเป็นห่วงก็คือสายพันธุ์ไวรัสที่ดื้อยาอาจทำให้ระดับภูมิคุ้มกัน CD4 ลดลงอย่างรวดเร็ว การดำเนินของโรคเร็วขึ้น และเสียชีวิตเร็วขึ้น

การดื้อยา

หลังจากที่ผู้ติดเชื้อ หรือผู้ป่วยเอดส์ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ไประยะหนึ่งแล้ว เชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นมาใหม่ และเพิ่มจำนวนขึ้นมาใหม่พยายามที่จะปรับตัว เปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม ทำให้รอกพ้นจากการทำลายโดยยาต้านไวรัสเอดส์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการดื้อยาขึ้นอยู่กับการกินยาตรงตามเวลา กินยาครบทุกมื้อที่กำหนด กินยาอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง ปัญหาสำคัญที่พบคือผู้ป่วยลืมกินยา

การแพ้ยา

การแพ้ยาต้านไวรัสเอดส์เป็นผลข้างเคียงของยาแต่ละชนิด มักจะปรากฏอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่น้อยรายที่พบอาการรุนแรง ในกรณีที่แพ้ยา แพทย์จะพิจารณารักษาอาการต่างๆ ที่เป็นผลข้างเคียง หรือพิจารณาปรับเปลี่ยนยาต้านไวรัสเอดส์ชนิดใหม่ได้ ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอดส์แตกต่างกันไปในตัวยาแต่ละชนิด ผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะเกิดผลข้างเคียงได้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน อาจเกิดอาการบางอย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งอาการก็ได้ หรือบางทีก็ไม่เกิดผลข้างเคียงเลย อาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเอดส์ที่พบได้บ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว และผื่นแดง

แนวทางการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์

สูตรยาที่เหมาะสม และเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน เป็นการให้ยาต้านไวรัสเอดส์ร่วมกันอย่างน้อย 3 ชนิด
แม้ผู้ป่วยจะได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ 3 ชนิด ก็ยังพบว่าร้อยละ 65-70 ยังตรวจสามารถตรวจพบเชื้อไวรัสเอดส์ได้ ระยะหลังๆ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ 4 ชนิด ในผู้ป่วยที่ตรวจพบ HIV viral load มากกว่า 1 แสน copies/มิลลิลิตร
การใช้ยาต้านไวรัสเอดส์กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อาร์ทีชนิดนิวคลีโอไทด์ 2 ชนิด (dual NRTI) เป็นสูตรยาที่ไม่แนะนำ เนื่องจากประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อไวรัสต่ำ และเกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น
การใช้ยาต้านไวรัสเอดส์เพียงชนิดเดียว (monotherapy) มีที่ใช้เฉพาะในการป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ทารกในครรภ์เท่านั้น
ผู้ป่วยโรคเอดส์ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้ว โดยอยู่ในระยะมีอาการ หรือมีการติดเชื้อฉวยโอกาสแล้ว ทำให้การใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ยุ่งยากขึ้น เนื่องจากผลข้างเคียงต่อยาต้านไวรัสเอดส์เพิ่มสูงขึ้น และอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาสกับยาต้านไวรัสเอดส์ โดยเฉพาะยาริแฟมบิซิน (rifampicin) ที่ใช้รักษาวัณโรค
ความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยขึ้นอยู่กับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งติดตามผลด้วยวิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ดี

โรคความดันโลหิตสูงกับ 3 สัญญานเตือนภัย

บทความในวันนี้ เราจะมาพูดถึงโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) ซึ่งเรียกได้ว่าเปรียบเหมือนภัยเงียบที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อเพราะไม่มีสัญญาณเตือนที่ชัดเจน หากไม่ระมัดระวัง และใช้ชีวิตอย่างประมาท ฉะนั้น เราจึงควรมาทำความรู้จักเจ้าโรคนี้ให้ดีก่อนการป้องกัน โดยปกติแล้ว ความดันโลหิต (blood pressure) จะเกิดขึ้นจากการไหลเวียนของเลือดแดงในร่างกาย ซึ่งจะผาดผ่านเส้นเลือดหัวใจแต่ละเส้น จะมีความดันสูงสุดเมื่อหัวใจบีบตัว และความดันต่ำสุดเมื่อหัวใจคลายตัว หากตรวจวัดความดันแล้วพบว่าค่าความดันช่วงบนมากกว่า 140 และค่าความดันช่วงล่างมากกว่า 90 จะถือว่าเกิดภาวะความดันโลหิตสูง (high blood pressure) ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน ส่วนอาการของภาวะความดันโลหิตสูงนั้นก็มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดศีรษะซีกเดียว เลือดกำเดาไหล และยังมีอาการอื่นๆ แทรกซ้อนทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เป็นต้น หากเพื่อนๆ อยากรู้กันแล้วว่า สาเหตุหลักอะไรที่จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ เราไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ

1.ขาดการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นประจำมีประโยชน์ต่อสุขภาพนานาประการ ทั้งช่วยบำรุงระบบหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิตให้ทำงานได้เป็นอย่างดี หากเพื่อนๆ ใช้ชีวิตโดยที่ออกกำลังกายเพียงน้อยนิด หรือแทบไม่ได้ออกกำลังเลยก็จะยิ่งเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตได้อย่างแน่นอน และจะส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ที่อันตรายตามมา ทั้งโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจ และหลอดเลือด เพียงเพื่อนๆ หมั่นเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ ก็จะถือเป็นการออกกำลังกายโดยไม่ต้องหักโหมแล้วค่ะ

2.ทานอาหารไม่มีประโยชน์
หากพูดถึงน้ำอัดลม เฟรนช์ฟราย พิซซ่า ไก่ทอด หรืออาหารสำเร็จรูป แน่นอนว่าจะต้องเป็นลิสต์อาหารสุดโปรดของเพื่อนๆ หลายคนอย่างแน่นอน ถึงแม้จะมีคุณประโยชน์น้อยแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยใช่ไหมคะว่าเป็นอาหารที่เอร็ดอร่อยไม่น้อย อย่างไรก็ตาม เราอยากแนะนำให้เลือกรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารครบถ้วน และดื่มน้ำให้เพียงพอซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากน้ำตาล เกลือ และแคลอรี่ที่อยู่ในอาหารบางชนิดจะยิ่งเพิ่มอัตราความดันโลหิตให้สูงยิ่งขึ้น

3.ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหลายเป็นอีกหนึ่งตัวร้ายที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และการอุดตันของเส้นเลือด ฉะนั้นควรลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะอันตรายดังกล่าวนี้

โดยปกติแล้ว ภาวะความดันโลหิตสูงไม่ได้มาจากสาเหตุด้านบนอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอายุ และทางพันธุกรรมได้อีกด้วย วิธีการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงนี้ อันดับแรก เพื่อนๆ ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจระดับความดันโลหิตให้ทราบอย่างชัดเจน จากนั้นก็ไม่ลืมที่จะรักษาสุขภาพของตนเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีน สำหรับผัก และผลไม้ที่เหมาะแก่การรับประทานเพื่อลดความดันโลหิตควรจะเป็นผักที่มีแคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียมสูง อาทิ ถั่วขาว เคล อะโวคาโด พริกหวาน มันหวาน เมล็ดควินัว ลูกพีช กล้วย และกีวี ลดปริมาณโซเดียม หรืออาหารที่มีรสจัด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ที่สำคัญ ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีนะคะ

ทริคยับยั้งความหิว หยุดตัวเองไม่ให้กินเยอะ

1. ทานข้าวเช้าให้เป็นปกติ

อาหารมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด เเต่หลายคนไม่ทราบความจริงในเรื่องนี้ ผู้คนไม่น้อยจึงมักลืมทานอาหารเช้า การไม่ทานอาหารเช้าทำให้เสียสุขภาพอย่างเเรง เพราะนอกจากจะทำให้เช้านี้ของคุณไม่ค่อยสดใส ดูไม่มีเรี่ยวเเรงชีวิตชีวา สมองไม่โลดเเล่นเท่าที่ควรเเล้ว ยังทำให้คุณทานมื้อเที่ยงเเละมื้อเย็นมากเป็นพิเศษเพราะความหิวอีกด้วย ดังนั้นทุกเช้าไม่ควรลืมทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ อย่างน้อยซีเรียลนมสดสักถ้วยก็ยังดีจ้ะ

2. อย่าเว้นมื้ออาหารนานเกินไป

ระหว่างวันทำงานสำหรับสาวๆหลายคนนี้ยุ่งมากใช่มั้ยล่ะ เราทราบดี เเค่บางครั้งขนาดปวดปัสสาวะยังต้องกลั้นไว้เพราะงานเร่งมาก เรื่องหิวนี้ลืมไปได้เลย เเต่พอถึงเวลาพักเที่ยง เเละเลิกงานเท่านั้นเเหละ ความหิวพรั่งพรูมาทันทีไม่รู้ว่ามาจากไหน ทำให้คุณเห็นอะไรก็อยากกินไปหมด อยากจะฟาดทุกอย่างที่ขวางหน้า ซึ่งนั่นอาจทำให้วินัยในการควบคุมเเคลอรี่ของคุณเสียไป เเนวทางเเก้ไขเรื่องนี้ไม่ยากเลย โดยในเเต่ละวันคุณควรเตรียมอาหารว่างที่มีประโยชน์ไปรับประทานที่โต๊ะทำงาน เช่น สลัดผัก โยเกิร์ต ผลไม้สด เเละเมล็ดธัญพืช เมื่อถึงเวลาอาหารมื้อหลักคุณก็จะไม่หิวมาก เเละสามารถลดปริมาณการทานมื้อหลักลงได้

3. ลดเกลือเเละผงชูรส

การลดทานเกลือเเละชูรสนั้นส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะของเหล่านี้มีโซเดียมสูงการทานโซเดียมมากๆไม่ดีต่อไต ทำให้ร่างกายบวมน้ำ นอกจากนี้โซเดียมยังทำให้อาหารอร่อย คุณจึงรู้สึกเจริญอาหาร อยากทานมากๆ เเต่หากคุณลองลดโซเดียมลงคุณก็จะเห็นได้ทันทีว่าความอยากอาหารของคุณลดลง หากคุณทานอาหารคลีนที่มีรสชาติค่อนข้างจืดชืด คุณก็จะทานเพียงเเค่พออิ่มให้อยู่ท้อง เเล้วคุณก็ไม่อยากทานต่อ ซึ่งจะช่วยให้คุณรักษาวินัยในการกินได้เป็นอย่างดี

4. ทานมื้อเย็นให้เป็นปกติ

มื้อเย็นก็เป็นมื้ออาหารอีกหนึ่งมื้อที่มีความสำคัญ ซึ่งคุณต้องห้ามขาด เพราะหลังจากมื้อเย็นเเล้ว คนไดเอทจะต้องไม่มีมื้อดึกอีกเเน่นอน เเละเป็นเวลานานหลายชั่วโมงมากกว่าจะถึงมื้อเช้าของวันถัดไป หากคุณพลาดมื้อเย็นรับรองได้เลยว่าคุณจะนอนไม่หลับเพราะความหิวมารบกวน ดังนั้นคุณจึงควรทานมื้อเย็นตามปกติ ด้วยอาหารที่มีประโยชน์ครบห้าหมู่ เเละมีปริมาณเเคลอรี่ตามที่กำหนดไว้ในโปรเเกรมควบคุมน้ำหนัก

5. บอกลาปาร์ตี้ บุฟเฟ่ต์

บอกลาปาร์ตี้บุฟเฟ่ต์เเละเเอลกอฮอล์ไปได้เลย หากคุณจริงจังกับการไดเอท เพราะเรื่องพวกนี้ทำให้คุณกลับมาอ้วนได้เร็วมาก เพราะอาหารในร้านบุฟเฟ่ต์นั้นมีเเต่เมนูยั่วน้ำลาย เเคลอรี่สูง รสชาติเเละกลิ่นของอาหารเย้ายวนให้คุณทานไม่เลิก อีกทั้งประโยคที่ว่า “ต้องทานให้คุ้ม” นี่เเหล่ะตัวดีเลยที่ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณทำเพื่อไดเอทมาต้องพัง ดังนั้นถ้าคุณคิดว่าควบคุมกิเลสตัวเองไม่ได้ เวลาขับรถผ่านร้านบุพเฟ่ต์ก็อย่าไปชายตามองเลยนะจ๊ะ

และนี่ก็คือ 5 เคล็ดลับของการยับยั้งความหิวในห้วงเวลาที่คุณสาวๆกำลังเข้าคอร์สไดเอท จะเห็นได้ว่ามันก็ไม่ยากเกินไปใช่มั้ยล่ะ เมื่อได้ทราบเเล้วเราก็อยากให้คุณลองทำดู เเล้วคุณจะรู้ว่าเป้าหมายความผอมเพรียวหุ่นดีนั้นใกล้เเค่เอื้อม

ลดน้ำหนักอย่างปอดภัย และได้ผลลัพธ์ที่ดี

สูญเสียกันมาเท่าไหร่แล้วกับคำว่า “ลดน้ำหนัก” ไม่ว่าจะเข้าคอร์สนู้นนี่นั่น น้ำหนักก็ยังไม่ลดสักที เชื่อว่าหลายคนคงจะเจอกับปัญหานี้บ่อย ๆ

อยากลดน้ำหนักแต่ทำยังไงน้ำหนักก็ไม่ลง จนทนไม่ไหวต้องหันไปเพิ่งยาลดความอ้วน ใครที่มีความคิดว่าจะใช้ยาลดความอ้วนเป็นตัวช่วยนั้น หยุดก่อนเลย! เพราะวิธีลดน้ำหนักนั้นมีมากมาย หากอยากลดน้ำหนักแบบได้ผล ลองทำตามวิธีเหล่านี้ดูสิ ไม่ต้องเสียเงินแพงๆ แถมไม่เสี่ยงอันตรายด้วยนะ !

ควบคุมอาหารในปริมาณที่เหมาะสม
ปัจจัยหลักในการควบคุมน้ำหนักคือเรื่องอาหาร หลายคนมักเลือกวิธีลดน้ำหนักด้วยการอดอาหาร ซึ่งการควบคุมอาหารแบบผิดๆ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เพราะการอดอาหารจะทำให้ร่างกายไม่ได้รับปริมาณสารอาหารเท่าที่ควร และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง ดังนั้นจึงควรกินอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยกินในปริมาณที่พอเหมาะ หรือจะเลือกกินเป็นข้าวกล้อง ธัญพืช และผัก ผลไม้ที่เป็นประโยชนต่อร่างกายก็ได้

กินอาหารให้ตรงเวลา
เมื่อเรากินอาหารตรงเวลา ร่างกายจะสามารถปรับสมดุลและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเวลาเรากินอาหารจะมีฮอร์โมนอินซูลินที่ควบคุมน้ำตาลปล่อยออกมา หากเรากินอาหารไม่ตรงเวลาฮอร์โมนอินซูลินก็จะหลั่งออกมา ทำให้รู้สึกโหยๆ มือสั่น ใจสั่น อยากกินของหวานๆ และยิ่งถ้าเรากินของหวานตามความต้องการของร่างกายด้วยนั้น ก็ยิ่งทำให้อ้วนเข้าไปใหญ่ ดังนั้นจึงควรกินอาหารให้ตรงเวลาจะดีที่สุด

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายถือเป็นปัจจัยหลักในการลดน้ำหนักเลยทีเดียว เพราะการออกกำลังกายคือกิจกรรมที่ร่างกายจะดึงพลังงานไขมันส่วนเกินออกมาใช้ และช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อให้กับร่างกาย ควรออกกำลังกายให้ได้วันละ 45 นาที สัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง โดยอาจจะเลือกเป็นการวิ่ง, เต้นแอโรบิค, ปั่นจักรยาน หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ชื่นชอบ เพราะนอกจากจะได้กล้ามเนื้อที่แข็งแรงเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการฟิตรูปร่างและสัดส่วนต่างๆ แถมยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

ถึงแม้ว่าจะเป็นวิธีพื้นฐานที่ไม่น่าเชื่อว่าจะช่วยให้ลดน้ำหนักได้ แต่เชื่อเถอะว่าวิธีเบสิคๆ ง่ายๆ แบบนี้ล่ะ ที่จะช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้โดยไม่ต้องพึ่งยาลดความอ้วนให้เสี่ยงอันตราย อย่าหวังว่าจะผอมในพริบตา เพราะการลดน้ำหนักที่ดีควรค่อย ๆ ลดทีละน้อยอย่างพอดี ดังนั้นเราหันมาลดน้ำหนักด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ได้ผล และไม่เสี่ยงอันตรายกันดีกว่า